วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สถาบันทางสังคม


สังคมเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มคนและกลุ่มสังคมที่หลากหลาย  ทุกกลุ่มล้วนมีวัตถุประสงค์ในการรวมตัวกันเป็นการเฉพาะสำหรับกลุ่มตัวเอง  เมื่อมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้ว การจดระเบียบแบบแผน การกำหนดกฎเกณฑ์ การรวมตัวกันเป็นกลุ่มคณะ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสมาชิกของกลุ่มและคงความเสถียรภาพของสังคม ย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่ง อีกทั้งเพื่อเป็นการเอื่อให้สังคมสามารถดำรงอยู่ ได้อย่างมั่นคง  โดยการจดระเบียบแบบแผน  ข้อกำหนด กฎเกณฑ์กลุ่มคนที่กล่าวถึงข้างต้นนี้เรียกว่า 
สถาบันทางสังคม
  
ความหมาย
สถาบันทางสังคม  (Social Institution) หมายถึง องค์กรหรือกฎเกณฑ์และระเบียบแบบแผนของสังคมที่ใช้เป็นแนวทางในการจดระเบียบความประพฤติ หรือติดต่อระหว่างกันของสมาชิกในสังคม ซึ่งบุคคลในสังคมจัดตั้งให้มีขึ้น เพราะเห็นประโยชน์ว่าเป็นการตอบสนองความจำเป็นในด้านต่าง ๆ ของสังคมและแก้ วิถีชีวิตของสมาชิกในสังคม  โดยสถาบันสังคมที่กล่าวถึงนี้ปรากฏได้ทั้งที่เป็นแบบรูปธรรม  หมายถึง องค์กร  เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัท เป็นต้น และ แบบนามธรรม หมายถึง กฎเกณฑ์และระเบียบแบบแผน  ที่ปฏิบัติกันอยู่ในสังคมหนึ่ง ๆ เป็นต้น

ลักษณะของสถาบันทางสังคม 
ลักษณะของสถาบันทางสังคม  สามารถพิจารณาได้จากหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ ( นิเทศ ตินณะ 
กุล, ๒๕๔๙: ๑๐๘) 
๑. ความจริงแท้ภายนอก  (external reality) หมายความว่า สถาบันสังคมเป็นสิ่งที่อยู่
นอกตัวมนุษย์มีลักษณะเปรียบได้กับสิ่งของต่าง ๆ เช่น ต้นไม้ ธรรมชาติบ้าน เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์
๒. ภาวะวัตถุประสงค์ (objectivity) หมายความว่า สถาบันทางสังคมเป็นเกณฑ์กลางที่ยอมรับกันโดยทั่ว ไป  โดยสมาชิกส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมดีงาม และควรยึดไว้เป็นหลักในการปฏิบัติ ตน
๓. อํานาจบังคับ (coerciveness) หมายความว่า สถาบันทางสังคมมี อำนาจบังคับให้ปฏิบัติตามแบบแผนของสถาบัน 
๔. อํานาจทางศีลธรรม (moral coerciveness) หมายความว่า สถาบันทางสังคมมีอำนาจเด็ดขาดในการบัง คับให้สมาชิกของสังคมทำตามกฎระเบียบของสถาบันและมีอำนาจในการลงโทษ หากไม่ทำตาม  ก็จะรับการลงโทษตามข้อกำหนดนั้น
๕. ความเป็นประวัติศาสตร์ (historicity)  หมายความว่า สถาบันทางสังคมเป็นสิ่งที่มีมานานแล้ว และยังดำรงอยู่ ดังนั้น สถาบันทางสังคมจึงมี ประวัติ ความเป็นมาที่ยาวนาน องค์ประกอบของสถาบันทางสังคม   สถาบันทางสังคมประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ๓ องค์ประกอบ คือ  
๑. องค์การทางสังคม  (social organization) คือ กลุ่มคนที่จัดระเบียบแล้ว มีองค์ประกอบย่อย ดังต่อไป
๑) สถานภาพ (status) ในวิชาสังคมวิทยาคาดว่า สถานภาพ มีความหมาย ๒ อย่าง คือ (พจนานุกรมศัพท์ สังคมวิทยา อังกฤษ -ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  , ๒๕๔๙: ๒๓๙) 

(๑) ตำแหน่งของบุคคลในระบบสังคม  เช่น เป็นลูก พ่อ แม่ ครู
พระสงฆ์ฯลฯ ความหมายนี้แสดงว่าบุคคลนั้น เป็นใคร ซึ่งจะเชื่อมโยงกับคำว่า บทบาท (role) ที่
หมายถึงว่า บุคคลนั้นควรทำอะไร  เมื่ออยู่ในตำแหน่งหรือสถานภาพนั้น